มิยะคิ (ไทยแลนด์)
ให้บริการ ชุบเคลือบผิวอลูมิเนียมทั่วไป, การชุบแข็ง, การชุบ Kashima-Coat, การชุบเคลือบผิวสีดำ,ชุบผิวอลูมิเนียมด้วยกรดออกซาลิก

การชุบผิวอลูมิเนียมคือ

การชุบผิวอลูมิเนียม (การทำให้เกิดออกไซด์ขั้วบวก) คือ การชุบผิวอลูมิเนียมโดยใช้กระบวนการที่ผ่านกระแสไฟฟ้า (อิเล็กโทรลิซิส) ขั้วบวก ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเพื่อสร้างชั้นฟิล์มออกไซด์เทียมขึ้น (อลูมิเนียมออกไซด์)

อลูมิเนียมสามารถจับตัวกับออกซิเจนได้ง่าย เมื่อสัมผัสกับอากาศจะสร้างชั้นฟิล์มออกไซด์บางๆขึ้น ชั้นฟิล์มที่สร้างขึ้นตามธรรมชาตินี้เป็นตัวปกป้องอลูมิเนียมไม่ให้เกิดสนิม จึงสามารถเรียกได้ว่ามีคุณสมบัติป้องกันการสึกกร่อนนั่นเอง แต่เพราะแผ่นฟิล์มนี้มีความบางมาก หากเกิดปฏิกิริยาเคมีกับสภาพแวดล้อมอาจทำให้สึกกร่อนได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการชุบผิวอลูมิเนียมเพื่อปกป้องผิวเอาไว้

โครงสร้างพื้นฐาน

วิธีการชุบผิวอลูมิเนียม

1

ติดชิ้นงานอลูมิเนียมบนจิ๊กแล้วจุ่มลงไปในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ (กรดซัลฟิวริกหรือกรดออกซาลิก)

2

เชื่อมต่อจิ๊กเข้ากับขั้วไฟฟ้าและปล่อยไฟฟ้าประจุบวก ขณะเดียวกันก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าประจุลบไปที่ขั้วลบ

3

จะเกิดชั้นฟิล์มออกไซด์ (อลูมิเนียมออกไซด์) บนผิวอลูมิเนียม จากกระบวนการผ่านไฟฟ้า

โครงสร้างพื้นฐานของการชุบผิวอลูมิเนียม (กระบวนการออกไซด์ด้วยกระแสไฟขั้วบวก) จะดูเหมือนแท่งดินสอมัดรวมกัน !?

โครงสร้างพื้นฐานของการชุบผิวอลูมิเนียม (กระบวนการออกไซด์ด้วยกระแสไฟขั้วบวก) จะดูเหมือนแท่งดินสอมัดรวมกัน !?​

1

อลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีการทำปฏิกิริยา จึงสามารถสร้างชั้นฟิล์มออกไซด์ในอากาศได้เองตามธรรมชาติที่ความหนาประมาณ 20nm

2

อลูมิเนียมจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชันในสารละลายอิเล็กโทรไลต์และเกิดการสร้างชั้นฟิล์มออกไซด์ขึ้น

3

เนื่องจากบริเวณร่องของผิวชั้นฟิล์มจะเกิดกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสที่มากกว่าอิออนซัลเฟตก็จะแทรกเข้าไปในส่วนนั้นทำให้ชั้นฟิล์มกลายเป็นอลูมิเนียมซัลเฟตและละลายออกมา ทำให้เกิดรูพรุนจำนวนนับไม่ถ้วนบนผิวหน้า

4

ด้านล่างของรูจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและการละลายชั้นฟิล์มไปพร้อมๆกัน ทำให้เกิดโครงสร้างรูพรุนที่ยืดขยายออกไปอย่างถูกต้องสมส่วน

5

ความหนาของชั้นฟิล์มจะมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับระยะเวลาในการทำอิเล็กโทรลิซิส

​​


วิธีการชุบผิวอลูมิเนียม

รูพรุนหรือหลุมก็คือรูของชั้นฟิล์มออกไซด์ ซึ่งแต่ละรูจะมีขนาดประมาณ 10-30nm (นาโนเมตร) ว่ากันว่าบนพื้นที่ 1cm2 จะมีจำนวนของรูที่ 1 พันล้าน ถึง 7 แสนล้านรู เป็นตัวเลขที่สามารถให้ประชากรบนโลกเข้ามาอยู่ในพื้นที่1cm2นี้ได้อย่างง่ายดาย

Kashima-Coat คืออะไร

Kashima-Coat คือวิธีการชุบผิวแบบหล่อลื่นที่บริษัทมิยะคิจำกัดพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปรับปรุงคุณสมบัติการทนการกัดกร่อนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ชั้นฟิล์มจากการชุบแข็งไม่เพียงแต่มีความแข็งเท่านั้น แต่ยังมีแรงดันผิวสัมผัสมาก หากนำไปใช้กับบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนหรือมีการเสียดทานบ่อยๆ จะทำให้เกิดการกัดแทะที่ผิวหรือไหม้ติดเนื้องาน และส่งผลให้เกิดปัญหาในการใช้งานได้ การชุบแบบ Kashima-Coat เป็นกระบวนการที่เกิดจากแนวคิดที่ว่า "ปัญหานี้สามารถแก้ไขโดยเพิ่มคุณสมบัติหล่อลื่นเข้าไปในผิวชุบอลูมิเนียมได้หรือไม่?"


Kashima-Coat เป็นการชุบผิวอลูมิเนียมที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาของบริษัทมิยะคิจำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มความสามารถในการหล่อลื่นในกระบวนการชุบแข็ง และปรับปรุงให้มีคุณสมบัติที่ทนการกัดกร่อน

จากภาพด้านขวา การสร้างกระบวนการ "ชุบแข็ง + การหล่อลื่น" ซ้ำไปซ้ำมาจะทำให้เกิดรูพรุนตั้งแต่ 1 พันล้าน ถึง 7 แสนล้านรู ต่อพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตรดังนั้นการชุบผิวแบบ Kashima-Coat จะมีคุณสมบัติในการทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าการชุบทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด

กระบวนการที่ทำให้เกิด Kashima-Coat

ชั้นฟิล์ม (อลูมิเนียมออกไซด์) ที่เกิดจากการชุบในกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสชั้นปฐมภูมิจะมีรูพรุนจำนวนนับไม่ถ้วนที่เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งด้านล่างของรูจะถูกเติมด้วย สารโมลิบดินัมไดซัลไฟด์ซึ่งเป็นสสารที่มีคุณสมบัติในการหล่อลื่น จนเต็มซึ่งก็ได้กลายมาเป็นการชุบผิวแบบ Kashima-Coat

อัพเดตข้อมูลล่าสุด 24 พ.ค. 2565