บริษัท ไทย ซิลเวค จำกัด
ให้บริการและรับปรึกษาด้านการปรับปรุงพื้นผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมี ชุบเคลือบผิว และการ Anodizing

Q&A คำถามที่พบบ่อยในกระบวนการผลิต

 

คำถาม
งานชุบ

 

 

คำถามงาน
อโนไดซ์

คำถาม การทำความสะอาดและการเคลือบผิวชิ้นงานอลูมิเนียมด้วยปฏิกิริยาเคมี

 

คำถามงานชุบ

Q

กระบวนการชุบผ่านการรับรองของ RoHS หรือไม่?

A

กระบวนการชุบของบริษัทเราผ่านการรับรองของ RoHS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังมีเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีด้วย


Q

ชุบสแตนเลสได้ หรือไม่?

A

สามารถชุบได้ บริษัทเราสามารถชุบได้ทั้งแบบใช้ Jig และ Barrel


Q

สามารถชุบอลูมิเนียมต่างๆรวมถึงอลูมิเนียม die cast ได้ใช่ไหม?

A

สามารถชุบได้ โดยการใช้Jig ซึ่งการชุบอลูมิเนียมถือว่าเป็น 1 ในจุดแข็งของบริษัทเรา


Q

สามารถชุบ Zinc die cast ได้ใช่ไหม?

A

สามารถชุบได้ บริษัทเราสามารถชุบได้ทั้งแบบใช้ Jig และBarrel ซึ่งการชุบ Zinc die cast ถือว่าเป็นอีก 1 ในจุดแข็งของเรา นอกจากนี้เรายังมีการให้บริการ Buffing ด้วย


Q

สามารถชุบ Phosphor bronze ได้หรือไม่?

A

สามารถชุบได้ บริษัทเราสามารถชุบได้ทั้งแบบใช้ Jig และ Barrel


Q

การชุบโครเมียม Trivalent กับโครเมท Trivalent ต่างกันหรือไม่?

A

โดยทั่วไปการชุบโครเมียม Trivalent จะเป็นการชุบนิเกิลและนำไป Trivalent Chrome แต่การโครเมท Trivalent คือชุบสังกะสีแล้วจึงนำไป Trivalent Chrome ซึ่งบริษัทของเราสามารถเคลือบโครเมท Trivalentโดยตรงกับประเภทของอลูมิเนียมได้


Q

สามารถชุบทองแดงเพื่อป้องกัน Carburizing ได้หรือไม่?

A

การชุบทองแดงเพื่อป้องกัน Carburizing จะมีระดับสูงสุดอยู่ที่ 30 ไมครอน และมีระดับต่ำสุดอยู่ที่ 13 ไมครอน ซึ่งระดับที่ใช้โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 25 ไมครอน


Q

สามารถชุบป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้หรือไม่?

A

สามารถชุบได้ โดยทั่วไปการชุบโลหะเพื่อป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นการชุบพื้นฐาน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของความยาวคลื่นสูงจะขึ้นอยู่กับโลหะแต่ละชนิด บริษัทของเราสามารถชุบทองแดง ชุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า และยังมีการชุบอลูมิเนียมด้วย


Q

สามารถเพิ่มความแข็งของฟิล์มนิกเกิลโดยไม่ใช้ไฟฟ้าได้หรือไม่?

A

สามารถทำได้ หลังจากที่ชุบนิกเกิลโดยไม่ใช้ไฟฟ้าของบริษัทเราแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการอบแข็งเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของฟิล์มได้ตามที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งระดับความแข็ง Vickers ในการชุบนิเกิลโดยไม่ใช้ไฟฟ้านั้น จะอยู่ที่ประมาณ 500 Hv และเมื่อผ่านกระบวนการอบแข็งแล้ว จะมีระดับมากกว่า 900 Hv ในกรณีที่ชิ้นงานผ่านการอบแข็งด้วยอุณหภูมิสูง ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบกับสีของชิ้นงานเสมอ


Q

สามารถชุบ Kanigen ได้หรือไม่?

A

สามารถทำได้ การชุบ Kanigen คือการระบุว่า จะใช้สารละลายแบรน Kanigen ลงในDrawing ซึ่งโดยทั่วไปจะชุบนิกเกิลโดยไม่ใช้ไฟฟ้า การชุบนิกเกิลโดยไม่ใช้ไฟฟ้าของบริษัทเราไม่ได้ใช้สารละลายของแบรน Kanigen แต่เราสามารถรับประกันคุณภาพของชิ้นงานได้ว่าจะไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน


Q

สามารถชุบดีบุก นิกเกิล ทองแดง โดยใช้บาเรล ในผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างบิด งอ และซับซ้อนได้หรือไม่?

A

สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดในเรื่องของรูปร่างและความหนาบางของชิ้นงาน แต่บริษัทเรารับประกันในการชุบบาเรลที่มีรายละเอียดสูงได้

▲PAGE TOP

คำถามงานอโนไดซ์

Q

การ Almite และการAnodizing เหมือนกันหรือไม่?

A

จริงๆแล้วความหมาย เหมือนกัน ต่างกันแค่คำเรียก ซึ่งสามารถเรียกได้หลายแบบ  คำว่าAnodizingตรงกับภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า การเพิ่มประสิทธิภาพผิวชิ้นงานทางเคมีขั้วบวก ซึ่งมีความหมายเดียวกัน ส่วนคำว่า Almite เป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นมาจากเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน บางครั้งในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Anodic Oxide Coating


Q

กระบวนการอโนไดซ์ผ่านการรับรองของ RoHS หรือไม่?

A

กระบวนการอโนไดซ์ของบริษัทเราผ่านการรับรองของ RoHS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


Q

สามารถอโนไดซ์อลูมิเนียมหล่อ ADC12ได้หรือไม่?

A

สามารถทำได้  ปัจุบันบริษัทของเรามีการอโนไดซ์ ADC12ทุกวัน  ซึ่งเรามีไลน์อโนไดซ์ ADC โดยเฉพาะ


Q

ปกติการอโนไดซ์ ADC12 ชิ้นงานจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ถ้าไม่อยากให้ชิ้นงานสีเปลี่ยน ทำได้หรือไม่?

A

โดยปกติแล้วการอโนไดซ์ ADC12 ชิ้นงานจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเองตามธรรมชาติ ในกระบวนการอโนไดซ์เราจะเห็นได้ว่าพื้นผิวชิ้นงานไม่เรียบเนียนเนื่องจากการไหลเวียนของน้ำร้อนจะมีกระบวนการเหมือนกันกับการลงสี ซึ่งเป็นผลมาจากซิลิกอน จึงทำให้เกิดสีน้ำตาลขึ้น ซึ่งบริษัทของเราจะพยายามทำให้ชิ้นงานมีสีน้ำตาลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่เปลี่ยนสีเลย


Q

สามารถอโนไดซ์สีของอลูมิเนียมหล่อ ADCได้ไหม?

A

สำหรับอลูมิเนียม ADC 12 สามารถทำได้เพียงแค่ สีดำ แต่ถ้าเป็น ADC 5 หรือ ADC 6  สามารถทำสีได้ทุกแบบ ปัจจุบันบริษัทของเรามีการทำสีไทเทเนียมของวัสดุที่เป็น ADC 6 ด้วย


Q

ชิ้นงาน 1ชิ้น สามารถอโนไดซ์ให้มี 2 สี ได้ไหม?

A

สามารถทำได้ ถ้าพูดถึงการอโนไดซ์แบบ 2สี จะมีวิธีคือการอโนไดซ์ 1 สีทั้งหมดก่อน แล้วหลังจากนั้นจะทำการอโนไดซ์อีกสีนึงโดยจะเปิดส่วนที่ต้องการทำสีไว้เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทของเรามีการทำอโนไดซ์ 2สี คือสีดำกับสีแดง


Q

สามารถ masking ชิ้นงานที่ไม่ต้องการอโนไดซ์ได้หรือไม่?

A

สามารถทำได้ สามารถ masking ชิ้นงานก่อนทำการอโนไดซ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ลูกยาง เทป  การ Paint เป็นต้น


Q

สามารถอโนไดซ์อลูมิเนียม duralumin กลุ่ม A2000 และ A7000 ได้ไหม?

A

สามารถทำได้ บริษัทเราสามารถอโนไดซ์อลูมิเนียมกลุ่ม A2000 และ A7000 ได้


Q

สามารถดัดงอแผ่นโลหะหลังจากอโนไดซ์ได้ไหม?

A

ไม่สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าอลูมิเนียมจะเป็นโลหะที่สามารถดัดง่ายเพราะมีคุณสมบัติอ่อน แต่เมื่อผ่านกระบวนการอโนไดซ์แล้ว ผิวของอลูมิเนียมจะมีความแข็งขึ้น ทำให้ไม่สามารถดัดงอได้


Q

สามารถวัดค่าความแข็งของกระบวนการอโนไดซ์ได้หรือไม่ และค่าความแข็งต้องอยู่ที่ระดับกี่ไมครอนถึงจะเป็นระดับที่เหมาะสม?

A

ระดับความแข็งของกระบวนการอโนไดซ์ ไม่ว่าจะเป็น 5 หรือ 50 ไมครอนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ในกรณีที่วัดค่าความแข็ง Hv  จำเป็นต้องมีระดับความหนาตั้งแต่ 20ไมครอนขึ้นไป   เหตุผลก็คือ ระดับความแข็งของฟิล์มอโนไดซ์จะวัดจากส่วนตัดของฟิล์มอโนไดซ์ ส่วนระดับความแข็งของ Vickers จะวัดจากร่องรอยที่ทำให้เพชรตกบนหน้าตัด ซึ่งถ้าหากความหน้าไม่ถึง 20ไมครอน จะไม่สามารถวัดได้


Q

ถ้าเข้าสู่กระบวนการอโนไดซ์จะทำให้ความเงาของชิ้นงานลดลง จะสามารถอโนไดซ์โดยให้วัสดุมีความเงางามได้ไหม?

A

สามารถทำได้ โดยทั่วไปแล้วการอโนไดซ์จะทำให้วัสดุหรือชิ้นงานมีความเงาวาวลดลงขึ้นอยู่กับวัสดุแต่ละชนิด แต่บริษัทของเราสามารถให้บริการอโนไดซ์ที่มีความเงางามได้โดยมีการเตรียมผิวชิ้นงานโดยเข้าสู่กระบวนการทางเคมีก่อนเข้ากระบวนการอโนไดซ์


Q

สามารถอโนไดซ์ผิวด้านได้ไหม?

A

สามารถทำได้ โดยทั่วไปแล้วการอโนไดซ์จะทำให้วัสดุหรือชิ้นงานมีความเงาวาวลดลงขึ้นอยู่กับวัสดุแต่ละชนิด แต่บริษัทของเราสามารถให้บริการอโนไดซ์ที่มีความเงางามได้โดยมีการเตรียมผิวชิ้นงานโดยเข้าสู่กระบวนการทางเคมีก่อนเข้ากระบวนการอโนไดซ์


Q

สามารถ Hairline เช่น ลายเส้นตรงลึกและตื้น ลายเส้นวน ได้ไหม?

A

สามารถทำได้ ทางบริษัทสามารถตอบรับคำขอของลูกค้าได้ตามความต้องการ โดยอาจจะมีการส่งต่อไปยังบริษัทซัพพลายเออร์ของเรา


Q

วัสดุอลูมิเนียมชนิดใดที่ผิวมีความแข็งสูงที่สุดในกระบวนการอโนไดซ์แข็ง?

A

อลูมิเนียมกลุ่ม A 1000 และ A 5000 เพราะเป็นอลูมิเนียมบริสุทธิ์ที่สุด รองลงมาคืออลูมิเนียมกลุ่ม A6000  ในกลุ่มของ ADC จะเป็น ADC5 และADC6

▲PAGE TOP

คำถาม การทำความสะอาดและการเคลือบผิวชิ้นงานอลูมิเนียมด้วยปฏิกิริยาเคมี

Q

การเคลือบผิวอลูมิเนียมด้วยปฏิกิริยาทางเคมี กับการ Alodine แตกต่างกันหรือไม่?

A

การ Alodine เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งในการการเคลือบผิวอลูมิเนียมด้วยปฏิกิริยาทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่มีเขียนว่า # 1000, # 1200 เนื่องจากเป็นการปรับปรุงทางเคมีโดยใช้ โครเมียม Trivalent  ลงในความหนาของฟิล์ม จึงทำให้ไม่สามารถรองรับ RoHSได้ บริษัทของเรามีการปรับปรุงทางเคมีโดยใช้ โครเมียม Trivalent  แทนการ Alodine ซึ่งบริษัทของเราได้การรับรองจาก RoHS   การทำความสะอาดผิวหน้าอลูมิเนียมจะทำให้แผ่นฟิล์มมีความต้านทานในการกัดกร่อนสูง และเป็นกระบวนการที่มีราคาต่ำกว่าการอโนไดซ์


Q

สารเคมีที่กำหนดใน Drawing อาทิเช่น ALT-610, VS-622 VS-624, CT3700, SURTEC650 มีประสิทธิภาพเหมือนกันหรือไม่?

A

ไม่มีข้อมูลที่เปรียบเทียบแน่ชัดว่า สารเคมีแต่ละตัวที่กำหนดใน Drawing มีส่วนผสมเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร แต่สามารถทดสอบวัดผลประสิทธิภาพการเคลือบผิวโดยวิธีการ Salt Spay Test (SST) ซึ่งถ้าผลการทดสอบผ่าน สามารถเทียบเคียงได้ว่า สารเคมีในแต่ละผู้ผลิตนั้นมีประสิทธิภาพเหมือนกัน


Q

สามารถเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมี ของ อลูมิเนียมหล่อได้ไหม?

A

สามารถทำได้  บริษัทของเราให้บริการเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมี TCT ให้กับงานหล่ออลูมิเนียมจำนวนมาก ในกรณีของงาน Die cast มีการทดลองด้วย Salt Spay Test (SST) ตามาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น JIS ผลปรากฎว่า ไม่มีสนิมขาวเกิดขึ้นเป็นเวลา 96 ชั่วโมง


Q

ช่วยระบุขนาดของผลิตภัณฑ์ที่สามารถเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีหน่อยได้ไหม?

A

ทางบริษัทสามารถรองรับชิ้นงานขนาดมากถึง 1250×750×425ได้


Q

การเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีของอลูมิเนียมกับการอโนไดซ์มีความแตกต่างกันหรือไม่?

A

การเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีคือการสร้างสารที่แผ่นฟิล์มโดยการใช้โครเมียม Trivalent ลงบนผิวของอลูมิเนียม ส่วนอโนไดซ์คือกระบวนการทางไฟฟ้าทำให้เกิดแผ่นฟิล์มออกไซด์บนผิวอลูมิเนียม  การเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีของอลูมิเนียมจะมีความต้านทานการกัดกร่อนสูง  นอกจากนี้ เนื่องจากทำให้ผิวของชิ้นงานมีความสะอาด เมื่อลงสีชิ้นงาน จึงทำให้สีมีความคงทน ติดทนทาน  ส่วนการอโนไดซ์นอกจากพื้นผิวของชิ้นงานจะมีความสะอาดแล้ว ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับชิ้นงานและทนต่อความต้านทานการสึกหรออีกด้วย  ในเรื่องของราคา กระบวนการเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีจะมีราคาต่ำกว่าการอโนไดซ์


Q

หลังจากผ่านกระบวนการเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีแล้ว นำชิ้นงานมาพ่นสี สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร?

A

สามารถทำได้  หลังจากผ่านกระบวนการเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีแล้ว นำชิ้นงานมาพ่นสี จะทำให้สีมีความคงทน และประสิทธิภาพในการต้านทานการสึกหรอก็สูงด้วย  การเตรียมผิวก่อนการพ่นสีอลูมิเนียม มีอยู่ด้วยกันอยู่ 2 วิธี คือ การอโนไดซ์ และกระบวนการเคลือบผิวทางเคมี   กระบวนการเคลือบผิวทางเคมี จะทำโดยวิธีการโครเมทด้วยโครเมียม หรือ การโครเมทด้วยฟอตเฟต หลังจากนั้นจึงพ่นสี การโครเมทแบบนี้คือวิธีการเคลือบผิวด้วยโครเมียม Trivalent ซึ่งในปัจจุบันอาจมีการเคลือบผิวด้วย โครเมียม Hexavalent   แต่วิธีการเคลือบผิวด้วย โครเมียม Trivalent จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า


Q

สามารถเคลือบผิวอลูมิเนียมแบบ Non-chrome ได้ไหม?

A

ปัจจุบันบริษัทในประเทศไทยไม่มีสารเคมีที่ใช้ในการผลิต แต่บริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นสามารถทำได้ ถ้าหากว่าต้องการให้เคลือบผิวอลูมิเนียมแบบNon-chromeกรุณาติดต่อเราโดยตรงได้เลยค่ะ


Q

กระบวนการเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีโครเมียม Trivalent ผ่านการรับรองของ RoHS หรือไม่?

A

กระบวนการเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีโครเมียม Trivalent ของบริษัทเราผ่านการรับรองของ RoHS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 


Q

นอกเหนือจากอลูมิเนียม สามารถเคลือบผิวด้วยปฏิกิริยาทางเคมีของโลหะชนิดอื่นได้หรือไม่?

A

ถ้าเป็น Zinc die casting สามารถทำได้โดยตรง


▲PAGE TOP

อัพเดตข้อมูลล่าสุด 27 เม.ย. 2565